Search

ความจริงของชีวิตและ'คนแก่' โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร - มติชน

semaugayahidup.blogspot.com

คนทุกคนมีเวลาอยู่ด้วยกันแค่ช่วงเวลาเดียว สั้นยาวแค่ไหนไม่รู้ มันอยู่ที่เรามาเจอกันเพื่อเป็นของขวัญ เพื่อเป็นบทเรียน เพื่อเป็นการลงโทษ หรือเพื่อเป็นเจ้ากรรมนายเวรของกันและกัน อะไรไม่สบายใจหยุดคิด อะไรมันจะเกิดก็อย่าไปฝืนมันเอาไว้ อะไรมันขัดตาก็ทำเป็นว่ามองไม่เห็นมันไป อะไรที่หนักใจก็อย่าไปคิดมาก ทำงานอะไรที่ปวดหัวไกลตัวก็ปล่อยผ่าน อะไรที่เบิกบานให้เก็บไว้ใจสุขสันต์อะไรให้ทุกข์ใจก็ปล่อยไปอย่ายึดติดกับมัน อะไรที่ไม่สำคัญก็ลืมไปจะได้ไม่หนักใจ เป็นคนดีความดีไม่มีวันจืดจาง อยู่ในที่มืดก็สว่าง อยู่ในที่รกร้างก็เด่น อยู่กลางแดดร้อนก็เย็น อยู่ในที่ที่ไม่มีใครเห็นก็ยังเป็นคนดี เข้าใจคนจะได้บริวาร เข้าใจงานจะได้ผลสัมฤทธิ์ เข้าใจในชีวิตจะได้มีความสุข พอใจในสิ่งที่ตนมี พอดีในสิ่งที่ตนเป็น เชื่อในสิ่งที่ตนเห็นแล้วจะเป็นผู้ที่มีแต่ความสุข เหนื่อยเพราะงานไม่ใช่ปัญหาใหญ่เหนื่อยเพราะใจเรื่องใหญ่กว่า บนถนนชีวิตที่แสนยาวไกลปลายทางอยู่ที่ใดก็ไม่รู้

ขอบคุณคำว่าร้ายที่ทำให้รู้ว่าเรายังมีดีให้คนอิจฉา ขอบคุณคำนินทาที่ทำให้รู้ว่ายังมีคนสนใจในตัวเรา ขอขอบคุณคำโกหกที่ทำให้รู้ว่าใครปกปิดความจริง ขอบคุณคำเยินยอที่ทำให้รู้ว่าเราต้องหนักแน่นมั่นคง ขอบคุณข่าวลือที่ทำให้รู้ว่าใครคือเพื่อน เพราะเพื่อนแท้เท่านั้นที่จะเชื่อในตัวเรา ขอบคุณคำร้ายๆ ที่ทำให้เราเข้าใจชีวิตดีขึ้น ขอบคุณคนร้ายที่ช่วยผลักให้เราเข้าใกล้คนดีๆ ไม่มีใครหนีความจริงแม้จะหาทางหนีทุกสิ่ง สุดท้ายก็ต้องเจอกับความจริงกับสิ่งที่เราได้ทำมา ชีวิตนี้สั้นนักลืมให้ไวอภัยให้เร็ว ยิ้มเหมือนไม่เคยโกรธหัวเราะเหมือนไม่เคยร้องไห้ รักเหมือนไม่เคยอกหัก สู้เหมือนไม่เคยแพ้ ไม่อิจฉาใครให้เสียเวลา เริ่มต้นใหม่ได้ทุกเมื่อโดยไม่ต้องแคร์สายตาใคร ดีแค่ไหนเขาก็ว่า ดีแค่ไหนเขาก็นินทา ดีแค่ไหนเขาก็ไม่พอใจ ไม่เป็นไรเราก็ทำดีมันเอาไป ไม่หนักหัวใครนี่หว่า
ความจริงที่ “คนแก่” ต้องเผชิญ : อย่างแรก ก็คือ ความสันโดษในบั้นปลายชีวิต นี่คือ ความจริงที่ว่าจำนวนคนรอบตัวเราจะลดลงตลอดเวลา อันที่จริงมนุษย์ไม่ได้ลดลง หากคิดถึงหลักความจริงคนรุ่นพ่อรุ่นแม่รุ่นปู่ย่าตายายส่วนใหญ่ก็จะหายไปหมดแล้ว ส่วนคนที่อยู่ในวัยเดียวกันกับเราก็เริ่มน้อยลง แล้วที่ยังอยู่ก็จะมีปัญหาในการดูแลตัวเองไปมาหาสู่เป็นเรื่องยากขึ้นทุกที ส่วนคนรุ่นหลังรุ่นลูกรุ่นหลานก็กำลังง่วนอยู่กับการใช้ชีวิตการทำงาน แล้วก็ความเป็นอยู่ของพวกเขา เพราะคนรุ่นเก่ากับรุ่นเราดำเนินชีวิตต่างกัน วิถีชีวิตคนเปลี่ยนไปแล้ว เพราะฉะนั้น ณ วันนี้ลูกหลานจะไม่ค่อยมีเวลาให้เรามากมาย แล้วคู่ชีวิตของเราก็จะจากเราไปก่อนเร็วกว่าที่เราคาดไว้ เพราะฉะนั้น เราอาจจะถูกทิ้งไว้อยู่กับวันเวลาที่ว่างเปล่าคนเดียวก็เป็นได้ เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะอยู่คนเดียวให้ได้และยอมรับกับความสันโดษในบั้นปลายของชีวิตที่จะต้องเกิดขึ้น

ประการที่สอง สังคมจะเริ่มให้ “ความสำคัญกับเราน้อยลง” ไปเรื่อยๆ ไม่ว่าในอดีตเคยยิ่งใหญ่มีชื่อเสียงมีอะไรมากมายขนาดไหนก็ตาม เคยเป็นโน่นเป็นนี่ มียศมีตำแหน่งมันก็เป็นเพียงอดีต “ความชรา” จะเปลี่ยนให้กลายเป็นเพียงผู้ชายแก่ๆ หรือผู้หญิงแก่ๆ ธรรมดาเท่านั้น
สปอตไลต์จะหยุดฉายมาที่เรา และเราจะต้องหัดพอใจกับการไปยืนอยู่มุมห้อง หรือในเงามืดอย่างเงียบๆ เพียงคนเดียว เคยไปในบางงานมีคนมาต้อนรับขับสู้เข้าล้อมหน้าล้อมหลัง วันนี้เราอาจจะต้องนั่งเหงาๆ อยู่คนเดียว ไม่มีคนมาทัก ไม่มีคนรู้จัก เราจะต้องเรียนรู้ที่จะยอมรับได้ ยินดีกับภาพที่เห็นอยู่ตรงหน้าโดยปราศจากการอิจฉาริษยา หรือคับแค้นใจเลยทั้งสิ้น ในเวลานี้ผู้สูงวัยมีเส้นทางชีวิตที่เหลืออยู่นั้นจะเต็มไปด้วยอันตรายต่างๆ ก็คือ โรคภัยไข้เจ็บมันพร้อมที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อันที่ไม่เคยเป็นก็จะเป็นอย่างน้อยๆ เช่น ปวดนู่นปวดนี่ หนักขึ้นอีกก็ไขมันสูงเส้นเลือดตีบตัน สมองฝ่อ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไทรอยด์เป็นพิษ อารมณ์แปรปรวน อาการหลงลืมหรือถ้าเกิดหนักหนาสาหัสก็เป็นมะเร็ง สิ่งเหล่านี้เราจะต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับความเจ็บป่วย หรือว่ายอมรับมัน แล้วก็ดำเนินชีวิตด้วยกุศโลบาย ก็คือ “จิตใจ” ที่สำคัญที่สุด คือ “จิตใจและความคิดที่ต้องเป็นบวก” ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินวันละ 30 ถึง 45 นาทีเป็นประจำ ต้องควบคุมการกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ จะกินตามใจปากเหมือนเมื่อก่อนไม่ได้แล้ว ต้องพักผ่อนให้เพียงพอต้องทำให้ได้อย่าไปรอเวลาจะเกี่ยงว่าฉันจะเริ่มวันนั้นวันนี้จะเริ่มเดือนหน้า ฉันจะเริ่มตอนนั้นตอนนี้ พอถึงตอนนั้นตอนที่คุณอยากจะทำก็จริงบางทีคุณอาจจะทำไม่ได้แล้ว

ประการที่สาม เรื่องนี้สำคัญและน่าจะดูโหดร้าย คุณอาจจะยอมรับไม่ได้แต่มัน คือ ความจริง มันก็คือ “เตรียมพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตติดเตียง” ถึงตอนนั้นเราจะถูกดูแลด้วยคนอื่นเหมือนตอนแรกเกิด ตอนแรกเกิดนั้นพ่อแม่ทำให้ ตอนนี้มันต่างกันแล้ว ครั้งนั้นเราเคยมีพ่อมีแม่เป็นผู้ดูแล คือ ความรักอย่างสุดหัวใจ แต่เมื่อใกล้วันที่เราจะจากโลกนี้ไป ไม่มีแม่แล้วอาจจะมีญาติที่ใกล้ชิดมาดูแลหรืออาจจะเป็นพยาบาลมาดูแล แต่ต้องยอมรับว่ามันไม่เหมือนกับการดูแลของพ่อของแม่ที่ดูแลเราในวัยนอนแบเบาะแน่นอน เพราะฉะนั้น จงฝึกอยู่นิ่งๆ อย่าทำตัวขี้บ่น อย่าทำตัวให้เป็นที่ลำบากของคนอื่น จงรู้สึกพอใจในสิ่งที่เราได้รับ เพราะถ้าเราจู้จี้ขี้บ่นบางทีคนที่ดูแลเราจะหายไปก่อนเวลาควร และเรื่องนี้ก็สำคัญ “ทรัพย์สมบัติเงินทอง” ที่มี หลีกเลี่ยงการเอาไปลงทุน หรือให้ใครหยิบยืมเด็ดขาด เพราะเรานั้นหมดเวลาแสวงหาเงินทองทรัพย์สมบัติใดๆ แล้ว เพราะฉะนั้น “ผู้สูงวัยทุกคนจงมองชีวิตตามความเป็นจริงของมัน พอใจในสิ่งที่ได้รับและยินดีกับสิ่งที่มีอยู่ ใช้ชีวิตให้สนุกในขณะที่ยังทำได้ จะไปเที่ยวอยากจะทำเรื่องนี้ทำอะไรทำได้ทำเสีย”

“บัว” เป็นอาจารย์ที่ดีมากของมนุษย์ ให้ลองสังเกตดู ใบบัวไม่เคยหันไปทางที่มืดเลย มีแต่หันไปทางที่สว่างไสว ถ้าตรงไหนมืด เขาจะไม่หันไปเลย มีแต่จะหนีห่าง ตรงกันข้าม พระอาทิตย์ขึ้นตรงไหน ใบบัวก็จะหันไปทางนั้น
ถ้าหูหรือตาของเราเหมือนกับใบบัวเราก็จะมีความสุขทีเดียว

อะไรที่ไม่ดีก็ไม่หันหูไปฟัง ไม่หันหน้าไปมอง รับฟังหรือมองแต่สิ่งดีๆ ที่เป็นธรรมะ เวลามีเงาทาบทับใบบัวจะหนีเลย จะเอนไปหาแสงสว่าง ไม่ยอมให้ความมืดเข้ามาครอบ แต่จะหันไปหาแสงสว่างตลอดเวลา

ถ้าคนเราเรียนรู้จากใบบัว คือนอกจากเลือกมองเลือกฟังแล้ว ยังพยายามหันจิตหันใจเข้าหาสิ่งดี หลีก เว้นความชั่วหรือสิ่งที่เป็นอกุศลก็มีโอกาสเป็นสุขไปได้ครึ่งหนึ่งแล้ว อีกครึ่งหนึ่งจะมาจากไหน ก็มาจากการเปลี่ยนความทุกข์ให้กลายเป็นความสุข เหมือนกับดอกบัวนั้นเอง

ดอกบัวเกิดจากโคลนตม ใต้สระนี้เป็นโคลนตมทั้งนั้น ไม่น่าลงเลย แต่โคลนตมนี้แหละ ที่ทำให้เกิดดอกบัว ที่สวยงาม เห็นแล้วเบิกบานใจ เห็นอย่างนี้แล้วเราก็น่าจะพัฒนาตนเองเพื่อฉลาดในการ เปลี่ยนทุกข์ให้เป็นสุข

โคลนตมหนาแค่ไหน ดอกบัวก็สามารถชูขึ้นมาจนพ้นน้ำได้ แล้วถ้าระดับน้ำสูงขึ้นเพราะฝนตกเยอะจะทำอย่างไร แม้น้ำจะท่วมจนมิดแต่ใบบัวและดอกบัวก็ไม่ยอมนะ เขาจะยืดตัวขึ้นมาจนพ้นน้ำให้ได้ บัวจะไม่ยอมจมอยู่ใต้น้ำเลย

คนเราถ้าไม่ยอมจมอยู่กับความทุกข์ ไม่ยอมจมอยู่กับความโกรธความเศร้า ชีวิตจะผ่องใสมาก เราต้องรู้จักยกจิตออกมาจากอารมณ์ที่หม่นหมองให้ได้พอยกออกมาได้จิตใจก็จะปลอดโปร่งผ่องใส

จะทำอย่างนั้นได้เราต้องหมั่นฝึกฝน ให้ฉลาดในการกู้จิตออกจากอารมณ์ กู้ออกมาให้ได้ อย่าไปจมอยู่กับมัน

ศาสนาพุทธนั้น กล่าวว่า ความรัก คือความทุกข์ รักน้อยทุกข์น้อย

รักมากทุกข์มาก ไม่รักเลยไม่ทุกข์เลย ที่ใดมีรักที่นั้นมีทุกข์ หากแต่คำกล่าวนี้ แท้จริงไม่ได้สื่อความว่าไม่ให้คนเรารักกัน

แต่ความรักที่ให้แก่กันจะต้องเป็นความรักที่มอบให้อย่างบริสุทธิ์ใจ อย่างมีเมตตา ไม่คิดยึดติดในอารมณ์ รูป รส กลิ่น เสียงหรือความรู้สึกต่อความรักนั้นๆ

การแผ่เมตตาก็ถือเป็นความรักรูปแบบหนึ่ง : ศาสนาพุทธแบ่งความรัก (ปิยัง) เป็น 4 อย่าง คือ 1.สิเนหา ความรักที่เกิดจากความต้องการทางเพศ หรือลุ่มหลงเทิดทูน 2.ปิยะ ความรักที่เกิดจากสัญชาตญาณหรือความรักในเครือญาติ 3.เปมัง ความรักที่เกิดจากความผูกพัน และช่วยเหลือกันมา 4.เมตตา ความรักที่เกิดจากการฝึกให้คุณธรรมเกิดมีขึ้นในจิตใจให้รักผู้อื่นไม่เห็นแก่ตัว

พุทธศาสนา จึงสอนเรา ให้รู้ว่า ความรัก เป็นอนิจจัง คือ ไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความรัก เป็นทุกข์ เพราะพอความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เรารับการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้ ก็ทุกข์ และเราต้องพลัดพรากจากสิ่งที่ตนรักด้วยกันทั้งสิ้น ก็ทำให้เราต้องเป็นทุกข์ ความรัก เป็นอนัตตา คือ ไม่มีตัวตนที่แน่นอน เพราะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดนั่นเอง จนสามารถกล่าวได้ว่า สิ่งที่แน่นอนที่สุดในโลกนี้ คือ ความไม่แน่นอนนั้นเอง รักแท้ไม่ได้มาด้วยความบังเอิญ เป็นสิ่งที่ต้องสร้างเอา ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งสองฝ่าย ไม่ได้ลอยมาจากฟ้าเทพพรหมประทานมา

ความรักของชายหญิงเกิดจากเหตุ 2 ประการด้วยกัน คือ 1.เคยเป็นคู่กัน ทำบุญร่วมกันมาแต่ปางก่อน (อดีตเหตุ) 2.เอื้อเฟื้อ เกื้อกูลกันในปัจจุบัน (ปัจจุบันเหตุ) เหตุอย่างใด อย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างประกอบกัน

รักแท้เกิดขึ้น เพราะคนสองคน มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีน้ำใจ (จาคะ) เสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน  ผู้ใดมีคุณสมบัติครบ 4 ประการ จะทำให้มีใจที่ดีต่อกัน เล็งแลกันด้วยสายตาเอ็นดู ไม่มีใจคิดอยากประทุษร้าย หรือเอาชนะคะคานกันอย่างไร้เหตุผล แต่ละวันที่อยู่ด้วยกันมีความสุข ยิ่งอยู่นานยิ่งสุขมาก เป็นคู่บุญ คู่บารมี เหมือนคู่ของพระโพธิสัตว์ ไงเล่าครับ

Let's block ads! (Why?)




June 18, 2020 at 01:21PM
https://ift.tt/37BYJrs

ความจริงของชีวิตและ'คนแก่' โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร - มติชน

https://ift.tt/3eWVcWY


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ความจริงของชีวิตและ'คนแก่' โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร - มติชน"

Post a Comment

Powered by Blogger.