Search

สัญลักษณ์ที่มีชีวิต - โพสต์ทูเดย์ คอลัมนิสต์การเมือง - โพสต์ทูเดย์

semaugayahidup.blogspot.com

โดย...ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์

****************************

ก่อนเดือนมิถุนายนของทุกปี กลุ่มต่อตานสถาบันกษัตริย์ซึ่งบางคนมีคดีอาญา มาตรา 112 ติดตัวและหนีไปอยู่ต่างประเทศ ทั้งในประเทศเพื่อนบ้านและบางประเทศในยุโรป จะปล่อยข่าวปูฐานไว้สำหรับเตรียมเคลื่อนไหวในวันครบรอบวัน

สวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 เป็นข่าวปลอมซ้ำๆซากๆ เผื่อจะมีคนหลงเชื่อ แบบนี้มาทุกปี พยายามสร้างวาทกรรม สร้างคีย์เวิร์ด ฯลฯ ที่จำง่าย โดนใจคนรุ่นใหม่ที่ความจำสั้น เสร็จแล้วก็หาประเด็นอื่นมาเล่นต่อไป

น่าสังเกตว่า ในปี 2563 นี้ มีการเคลื่อนไหวในการลดความเชื่อถือของสถาบันสูงสุดเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เยอรมนีแล้วแพร่มายังไทยผ่านสื่อดิจิตัล มีฝรั่งอังกฤษคนหนึ่งที่เคยมีเมียเป็นคนไทยและเคยเป็นผู้สื่อข่าว บี.บี.ซี.ประจำไทยมาก่อน รับจ๊อบวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ไทยโดยร่วมมือกับคนไทยไม่กีคนที่ติดคดี ม.112 ใช้ประเด็นนี้เคลื่อนไหว

กล่าวกันว่า ฝรั่งคนนี้มีพฤติกรรมเป็น “มือปืนรับจ้าง” ให้นักการเมืองไทยบางคนที่หนีกฎหมายไทยไปอยู่ต่างประเทศ โดยใช้สื่อดิจิตัลในการหารายได้เพิ่มเติม อาศัยความเป็นนักข่าวที่มี “คอนเน็คชั่น” กว้างขวาง การเคลื่อนไหวในปีนี้จึงไปรวมศุนย์อยู่ที่เยอรมนี ซึ่งเป็นที่ประทับ

ฝรั่งคนนี้เขียนบทความ ในลักษณะการสร้างข่าวเท็จที่หมิ่นพระเกียรติ ที่กลุ่มชังเจ้าในไทยนำมาเผยแพร่ต่อทางสื่อดิจิตัล

(แม้แต่เรื่องล่าสุดที่นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ที่หนีคดีความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไปอยู่ในกัมพูชาและมีข่าวว่าถูกลักพาตัวจากที่พักนั้น ฝรั่งคนนี้ยังโยงเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อโจมตีสถาบันสูงสุดของไทยจนได้)

ฝรั่งและคนไทยกลุ่มล้มเจ้าในเยอรมนีรู้จักวิธีหลบหลีกกฎหมายท้องถิ่น รวมทั้งมีการประสานกับนักการเมืองท้องถิ่นที่เคลื่อนไหวในสภาท้องถิ่นด้วย

ล่าสุด มีการใช้เลเซอร์ฉายข้อความไปยังโรงแรมที่ประทับอย่างน้อยสองครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาเผยแพร่ต่อในสื่อดิจิตัลให้ย้อนกลับมายังเมืองไทย

ข้อความที่ฉายเป็นภาษาไทย แสดงว่าคนไทยเป็นคนวางแผน ส่วนฝรังที่เป็นคนฉายนั้นอาจเป็นฝรั่งกิ๊กก๊อกที่ได้รับการว่าจ้างมาดำเนินการ หรือเป็น เอ็นจีโอ.ฝรั่งที่คนไทยกลุ่มล้มเจ้าในเยอรมนีประสานงานกันอยู่ เวลานี้ ทางการเยอรมนีก็กำลังยุ่งอยู่กับการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของไข้โควิด 19 ภายในประเทศ

แม้อาจไม่ผิดกฎหมายของเยอรมนี แต่โดยสามัญสำนึกของนักประชาธิปไตยทั้งหลายย่อมรู้ดีว่า การก่อกวนดังกล่าวเป็น“การคุกคามต่อสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล” ชัดๆ หากคนเยอรมันโดนแบบนี้บ้างคงไม่ยอมและวิ่งโร่ไปฟ้องตำรวจ

คนทำจะอ้างสาเหตุใดก็ตาม เป็นเรื่องที่ฟังไม่ขึ้น ส.ส.รัฐบาวาเรียจะไปกล่าวหาโรงแรม ก็โดนโรงแรมตอกกลับมาว่า เป็นเรื่องของผู้เช่ากับผู้ให้เช่า ซึ่งไม่ได้ไปทำให้แขกคนอื่นเดือดร้อน และไม่ได้ผิดกฎหมาย

ส.ส.รัฐบาวาเรียที่เอาเรื่องนี้มาเล่นตามแรงยุของคนอื่นหรือ เอ็น.จี.โอ.ท้องถิ่นที่คงได้รับการแนะนำจากคนไทย “ชังเจ้า” ที่อาศัยหรือลี้ภัยอยู่ในเยอรมนี เพื่อความดังหรือเพื่อหาเสียง ซึ่งคงไม่แตกต่างจาก ส.ส.ไทยเท่าใดนัก

ก่อนหน้านี้ มีพรรคการเมืองหนึ่งในประเทศไทยที่อ้างอย่างภาคภูมิใจว่า การฉายแสงที่สถานทูตไทยในเบอร์ลินโจมตีรัฐบาลไทยเป็นฝีมือของพวกตน (และใช้เทคนิคนี้ทำในเมืองไทยมาแล้วเช่นกัน) แต่คราวนี้ แม้พรรคการเมืองดังกล่าวไม่กล้าแสดงตัวออกมารับหรือปฏิเสธ แต่เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า แกนนำพรรคนี้อยู่ในประเภท “ชังเจ้า” “ล้มเจ้า” เช่นกัน

ทุกปีรวมทั้งปีนี้ เมื่อใกล้วันที่ 9 มิถุนายน 2563 ซึ่งครบรอบวันสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 “กลุ่มชังเจ้า” โดยเฉพาะพวกที่ลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ พยายามใช้วันนี้ปล่อยข่าวบิดเบือนเหตุการณ์เพื่อให้คนหลงเชื่อตามแนวทางที่คนเหล่านี้ได้ทำไว้ เวลานี้ นักวิชาการ “ชัง” บางคนได้เริ่มปฏิบัติการปล่อยข่าวเท็จที่ดูน่าเชื่อถือมาแล้ว โดยไปอ้างข้อมูลของต่างชาติที่ดูน่าเชื่อถือ หยิบยกเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ แต่พูดไม่หมด ใช้วิธี "ตัดตอนมาปล่อย" เพื่อให้ตรงตามที่พวกตนต้องการ เป็นเช่นนี้มาทุกปี

ปีนี้มีพิเศษกว่าปีก่อน ๆ โดยมีการเผยแพร่สำเนาเอกสารของสถานทูตต่างประเทศซึ่งดูแล้วน่าเชื่อถือ ที่รายงานเรื่อง “คนพูดกันว่า” (ซึ่งมีน้ำหนักน้อย เพราะอาจเป็นจริงก็ได้ ไม่จริงก็ได้) แต่ไม่ยอมเอารายงานฉบับต่อมาที่ทูตขอยกเลิกรายงานฉบับแรกมาเปิดเผย

คนไทยหลายคนตั้งคำถามว่า เมืองไทยไม่มีกฎหมายปกป้อง คุ้มครอง สถาบันกษัตริย์ และดำเนินคดีกับคนที่จาบจ้างล่วงละเมิด หรือหมิ่นพระบรมราชานุภาพ ทั้งในสถานะประมุขของประเทศและในสถานะองค์พระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพรักของประชาชน บ้างหรือ

คำตอบคือ มี และมีมานานแล้วด้วย ทั้งในรัฐธรรมนูญและในกฎหมายอาญา

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แนวคิดที่ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ของประเทศไทย ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวไทย ผู้ใดจะละเมิดมิได้ “ ได้นำมาบัญญัติไว้เป็นครั้งแรกในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 7 พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2575

ต่อมา มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 และมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2492 แทน (นอกจากระบุ “รูปแบบของรัฐ” ในมาตรา 1 “ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้” แล้ว ยังระบุ “รูปแบบการปกครอง” ไว้ชัดเจนในมาตรา 2 ว่า “ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข “ รูปแบบการปกครองของรัฐนี้ได้กำหนดไว้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญฉบับต่อมาทุกฉบับ จนถึงฉบับปี 2560

ในฐานะองค์พระประมุขของประเทศ ย่อมได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายไทยเช่นเดียวกับประมุขของชาติอื่นได้รับการปกป้อง คุ้มครองจากกฎหมายของเขา

นอกจากนั้น แนวคิดที่ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวไทย ผู้ใดจะละเมิดมิได้” ยังได้นำมาบัญญัติไว้ในมาตรา 4 และในมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญปี 2475 และ “ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้”

แนวคิดตามสามมาตราหลักข้างต้น ได้นำมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับจนถึงฉบับปี 2560 แต่มาตราอาจจะแตกต่างกันไป และข้อความอาจไม่เหมือนเดิม แต่ความมุ่งหมายคงเดิม เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 8 “ องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ (ย่อหน้า)ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้”

ในส่วนที่เกี่ยวกับ “สิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย” ซึ่งมีการระบุรายละเอียดไว้มากที่สุดและชัดเจนที่สุด ไม่ให้ผู้ใดใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้

ในกฎหมายอาญา ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ถือว่าเป็น "ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรไทย" โดยเฉพาะที่เรารู้จักกันมากที่สุดคือ มาตรา 112 "ความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ "

ว่าด้วยเหตุผลและความจำเป็นในการมีมาตรานี้เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ เพราะพระมหากษัตริย์และผู้เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายระบุไว้ ไม่สามารถไปขึ้นศาลเป็นคดีความกับประชาชนได้ จึงต้องให้ความคุ้มครองไว้ ประมุขของประเทศต่างๆ ทั้งที่เป็นกษัตริย์และประธานาธิบดีหรือเรียกชื่ออื่น ก็ได้รับความคุ้มครองเช่นกันโดยกฎหมายของเขา แต่รายละเอียดอาจแตกต่างกันไป

คนธรรมดายังได้รับความคุ้มครอง ไม่ให้สิทธิเสรีภาพของตนถูกละเมิด หากถูกหมิ่นประมาท ถูกละเมิด ยังสามารถไปฟ้องร้องต่อศาลได้ แต่จะให้พระมหากษัตริย์ไปเป็นคดีความกับพสกนิกรของพระองค์เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น จึงต้องให้ความคุ้มครองไว้ก่อน ไม่เช่นนั้น พวกชังเจ้าในไทยอาจฟ้องร้องคดีความมากมายต่อพระมหากษัตริย์ หรือไปฟ้องตามศาลจังหวัดต่าง ๆ หากไม่มีบทที่ให้ความคุ้มครองต่อพระมหากษัตริย์ ๆ คงต้องเสด็จไปสู้คดีในทุกจังหวัดทั่วประเทศ

หลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลใช้มาตรา 112 น้อยมาก นอกจากคดีที่รุนแรงจริง ๆ ส่วนใหญ่ใช้วิธีการพูดคุยทำความเข้าใจกันมากกว่า ยกเว้นกรณีที่ร้ายแรงและเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ นอกจากนั้น ผู้ที่หลบหนีคดีมาตรา 112 ที่ไปอยู่ต่างประเทศ ได้ใช้ประโยชน์จากมาตรานี้ทำเรื่อง “ขอสถานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง” จากองค์การระหว่างประเทศ และจากรัฐบาลประเทศนั้นโดยตรง และประสบผลสำเร็จหลายราย เมื่อได้สถานะดังกล่าวแล้วก็สามารถอาศัยอยู่ในประเทศนั้นได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและหางานทำได้ และยังโจมตีสถาบันสูงสุดของไทยต่อไป

มีนักการเมืองบางคนคิดถึงเรื่องที่จะให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี “ศาลอาญาระหว่างประเทศ” ซึ่งสามารถฟ้องร้องทุกคนในประเทศ ไม่ใช่แค่นักการเมืองด้วยกันเองเท่านั้น แต่ยังรวมทั้งพระมหากษัตริย์ ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศได้ นักการเมืองและกลุ่มคนที่มีแนวคิดดังกล่าวไม่ได้มีเป้าหมายเฉพาะนักการเมืองเท่านั้น แต่เป้าหมายของพวกนี้อยู่ที่องค์พระประมุขของประเทศเป็นสำคัญ

ด้วยความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสารในเวลานี้ ทำให้กลุ่มชังเจ้าสามารถแพร่กระจายข้อมูลได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วผ่านสื่อดิจิตัล กลุ่มชังเจ้าที่ไปอยู่นอกประเทศซึ่งมีจำนวนไม่กี่คนสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ มาเผยแพร่ในประเทศไทยซึ่งมีคนจำนวนมากกดไลค์ กดแชร์ ที่นิยมที่สุดคือ การไลฟ์สดผ่านช่องยูทูป ที่สามารถพูดโจมตีสถาบัน พูดนานเท่าใด ฯลฯ ได้ตามความพอใจแล้ว ยังเป็นอีกวิธีหนึ่งในการหารายได้ยังชีพ

รูปแบบการบ่อนทำลายและคุกคามต่อสถาบันสูงสุดของไทยได้พัฒนาไปมาก ทีมงานดิจิตัลของพรรคการเมืองหนึ่งที่ตั้งขึ้นมาเพื่อทำสงครามดิจิตัลโดยเฉพาะ หน่วยงานที่รับผิดชอบของทางการไทยก็คือ กระทรวงดี.อี. ที่ได้รับการติดอาวุธทางกฎหมายมากมายทั้งในเชิงป้องกัน ปราบปราม และประสานงาน โดยเฉพาะกับตัวแทนเฟซบุ๊ค ยูทูป อินสตราแกรม ในไทย

กระทรวง ดีอี. และ กองบัญชาการตำรวจต่อต้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ จะดำเนินการอย่างไรกับคนพวกนี้ โดยเฉพาะคนในประเทศที่ชอบกดไลค์ กดแชร์ โดยไม่ดูเนื้อหาว่าจริงหรือเท็จ เหมาะสมหรือไม่

อย่างไรก็ดี สิ่งที่สำคัญกว่ามาตรการทางกฎหมาย คือ มาตรการทางสังคม การเรียนรู้ รับรู้บทบาทและความสำคัญของสถาบันกษัตริย์ไทยทั้งในอดีตและปัจจุบันทั้งด้านความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ที่ทำให้ประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัย รักษาเอกราชของชาติมาได้จนทุกวันนี้ ไม่เช่นนั้น เราก็ต้องปวดหัวกับพวกกลุ่มชังเจ้า ลั้มเจ้าเช่นนี้ต่อไป

ไหนๆ จะเขียนเรื่องนี้แล้วก็เขียนเสียให้จบกระบวนความ ปัจจุบัน ในโลกนี้มี ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 27 ประเทศ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มประเทศที่ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มี 5 ประเทศ ใกล้บ้านเราก็มีบรูไน ที่ดังที่สุดเห็นจะเป็นวาอุดิอาราเบีย (2) กลุ่มประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เช่น อังกฤษ ไทย ญี่ปุ่น กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เป็นต้น (3) กลุ่มประเทศที่การปกครองในรูปแบบเฉพาะที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เช่น โมนาโค และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกผ่านสื่อต่าง ๆ ว่า พระมหากษัตริย์ไทยดีที่สุดพระองค์หนึ่งในโลก และทำให้ภาพลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ทั่วโลกดีขึ้น หากการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ที่เก่งและดีเยี่ยมเช่นพระองค์ หลายประเทศสาธารณะรัฐอยากกลับไปเป็นประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ปกครองอีก แต่มีข้อแม้ว่าต้องเป็นกษัตริย็ที่ดีแบบกษัตริย์ภูมิพลของไทย

นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 แนวคิด “ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ” ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และถูกนำมาใช้ในประเทศอังกฤษ เนเธอแลนด์ ลักเซมเบอร์ก โมร็อกโก นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ญี่ปุ่น ลิกเตนสไตน์ พระมหากษัตริย์ของไทยมีพระราชอำนาจและพระราชสถานะคล้ายของประเทศอังกฤษ

ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา มีนักการเมืองไทยบางพวกพูดถึงแนวความคิดและคำว่า “ระบอบพระมหากษัตริย์ใต้รัฐสภา” ในความหมายที่ต้องการให้อำนาจของพระมหากษัตริย์ถูกจำกัดโดยอำนาจของฝ่ายรัฐสภา ดังเช่น ที่นักการเมืองบางพวกต้องการให้สภาเป็นผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ ประธานศาลฎีกาได้รับการแต่งตั้งหรือเห็นชอบโดยรัฐสภา เป็นต้น ผู้ที่พูดส่วนใหญ่หวังผลในเชิงอำนาจทางการเมืองเป็นสำคัญ แล้วนำเหตุผลเชิงรัฐศาสตร์มาสนับสนุน และไปดึงชาวต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง พยายามใช้สภาไทยเป็นเวที และเป็น “แพลตฟอร์ม” ในการบ่อนแซะสถาบันกษัตริย์ของไทย ดังนั้น คนไทยต้องรู้เท่าทัน

การปกครองของประเทศขึ้นอยู่กับประวัติความเป็นมาของสังคมนั้น ๆ นับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ.2475 สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทยมีความสัมพันธ์อันดีมาโดยตลอด แต่ด้านการปกครองในระบอบประชาธิปไตยกับสังคมไทยยังมีพัฒนาการที่ไม่สมบุรณ์นัก หลายครั้งที่ระบอบประชาธิปไตยของไทยมีอันสะดุดหยุดลง สถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์รวมของความเป็นไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยเป็นอย่างไรสะท้อนจากคำสัมภาษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานแก่นิตยสาร “ลีดเดอร์ส” ตอนหนึ่งว่า

“บทบาทอันดับแรก คือ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ และหากทำได้เป็นผลสำเร็จ ก็จะเป็นเสมือนสัญลักษณ์ที่มีชีวิตของประเทศนั้น พระมหากษัตริย์จะต้องเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับประเทศชาติ แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องคงความเป็นสาระของชาติไว้ด้วย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นตัวแทนของสิ่งต่าง ๆ ในประเทศ หรือเป็นวิญญาณของประเทศชาติ อาจมีต่าง ๆ กัน แต่ลักษณะสามัญพื้นฐานเหล่านั้นต้องมีอยู่ในองค์พระผู้เป็นประมุข”

Let's block ads! (Why?)




June 11, 2020 at 11:25AM
https://ift.tt/2XRVWHp

สัญลักษณ์ที่มีชีวิต - โพสต์ทูเดย์ คอลัมนิสต์การเมือง - โพสต์ทูเดย์

https://ift.tt/3eWVcWY


Bagikan Berita Ini

0 Response to "สัญลักษณ์ที่มีชีวิต - โพสต์ทูเดย์ คอลัมนิสต์การเมือง - โพสต์ทูเดย์"

Post a Comment

Powered by Blogger.