Search

มีอาชีพ มีความภูมิใจ และมีชีวิตที่ดี ที่ศูนย์วงเดือน อาคมสุรทัณฑ์ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

semaugayahidup.blogspot.com

วันเสาร์ ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.

เมื่อเรามีอาชีพติดตัว สามารถสร้างงานสร้างรายได้ เราภูมิใจว่าเราไม่ต้องงอมืองอเท้ารอขอความช่วยเหลือจากใคร แต่ที่มากกว่านั้นคือชีวิตของเราก็ดีขึ้นด้วย 

แนวหน้าวาไรตี้สัปดาห์นี้ ดร.เฉลิมชัยยอดมาลัย นำคุณกลับไปที่ศูนย์วงเดือน อาคมสุรทัณฑ์ จังหวัดอุทัยธานี เพื่อไปสนทนากับบุคคลหลากหลาย ทั้งผู้ที่ให้การฝึกอบรมทำอาชีพ และผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ โดยทุกคนบอกตรงกันว่าการมีอาชีพ และการมีงานทำ คือการทำให้ชีวิตมีคุณภาพที่ดีขึ้น

คุณอรุณี เต็งสุวรรณ์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดอุทัยธานี เล่าให้ฟังว่า การสร้างอาชีพให้กับคนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการผู้ประสบปัญหาทางสังคม และผู้ด้อยโอกาส คือภารกิจสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือช่วยกันเพราะการช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ให้สามารถยืนอยู่บนลำแข้งตนเองได้คือการช่วยให้เขาไม่ต้องเป็นภาระต่อสังคม แต่ที่มากกว่านั้นคือทำให้เขาภาคภูมิใจในตัวของเขาเอง เขาได้เห็นคุณค่าของตนเอง ทั้งนี้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดอุทัยธานี ได้ลงนามความตกลงร่วมกันกันศูนย์วงเดือนเพื่อฝึกอาชีพต่างๆ ให้กับคนกลุ่มนี้ แล้วเมื่อเขาสามารถผลิตงานออกมาได้ เราก็ช่วยหาตลาดให้กับเขา ผลผลิตที่พวกเขาทำขึ้นมามีมากมาย เช่น เครื่องจักสานจากผักตบชวากระเป๋า กล่องใส่เครื่องประดับ ที่ใส่ขวดไวน์ตะกร้า กระเช้าของขวัญ โดยทางสำนักงานฯ ประสานไปยังชุมนุมต่างๆ ว่ามีกลุ่มคนพิเศษจำนวนกี่คน และแต่ละคนต้องการฝึกอาชีพด้านใด จากนั้นเราก็นำคนกลุ่มนี้มารับการฝึก ซึ่งทำมาแล้วหลายรุ่น แล้วก็ได้รับผลสำเร็จที่น่าพอใจ เพราะผู้ผ่านการฝึกอบรมสามารถมีอาชีพและมีรายได้ ที่สำคัญคือสินค้าที่ผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดมาก จนบางช่วงผลิตไม่ทันความต้องการ ขอเน้นว่าสิ่งที่สำคัญคือเมื่อเขามีอาชีพมีรายได้ เขามีความภูมิใจในตัวเองมากขึ้น และไม่เป็นภาระสังคม 

คุณปราโมทย์ ขุมเพชร กลุ่มเป้าหมายพิเศษผู้รับการอบรม บอกด้วยความภาคภูมิใจว่า ผมมีความสุข และมีความภูมิใจในตัวเองมาก เมื่อก่อนนี้ถูกมองว่าเป็นภาระสังคม เนื่องจากมีความผิดปกติในร่างกาย แม้ไม่ถึงกับพิการแต่ก็ไม่ถือว่าเป็นคนปกติเหมือนคนอื่นๆ แต่เมื่อมารับการอบรมจักสานผักตบชวาโดยรับการอบรมเพียง 10 วัน ก็สามารถทำงานได้จริง เมื่อทำจนชำนาญแล้วก็ผลิตตะกร้ารูปไก่สำหรับใส่ขวดไวน์ รวมถึงสานกระเป๋า ซึ่งก็มีผู้ซื้อไปใช้ แล้วก็สั่งเพิ่มมาเป็นประจำ ทำให้ได้รายได้สำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและยังมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามเจ็บป่วยหรือยามชราด้วย สำหรับงานจักสานแต่ละชิ้นก็ใช้เวลาเพียง 2-3 วันเท่านั้น ส่วนวัตถุดิบก็หาได้ง่ายจากในชุมชน เพราะมีแหล่งน้ำและมีผักตบชวาอยู่ทั่วไป หลายคนไม่ต้องการผักตบชวา เขาก็ทิ้ง เราก็ไปเก็บมาตากแห้ง แล้วนำมาจักสาน ผมขอเชิญชวนให้คนที่มองว่าตัวเองเป็นคนพิการ คนไม่สมประกอบ หรือคนที่มีความผิดปกติในร่างกายให้ไปเข้ารับการฝึกอาชีพที่ศูนย์วงเดือน เพราะมีอาชีพต่างๆ ให้เลือกฝึก เช่น ร้อยมาลัยทำอาหาร ทำขนม งานช่าง งานฝีมือ งานไม้งานโลหะ งานเสื้อผ้า ดนตรีไทย ให้เลือกฝึกฝนตามความถนัด และที่สำคัญไม่เสียค่าใช้จ่ายในการฝึก เมื่อก่อนผมรู้สึกว่าผมไม่มีประโยชน์ต่อสังคม แต่เมื่อผมมาฝึกอาชีพที่ศูนย์วงเดือนแล้ว ผมรู้ตัวทันทีว่าคนทุกคนมีความสามารถซ่อนอยู่ในตัวเอง และทุกคนมีคุณค่าในตัว ทุกวันนี้ผมมีความสุขในชีวิตและภูมิใจในตัวเองมาก 

คุณไพรินทร์ กันทวงศ์ อุตสาหกรรมจังหวัดอุทัยธานี นำเสนอผลงานใบไม้เปลี่ยนเมือง โดยใช้ใบไม้ต่างๆ ในท้องถิ่น รวมถึงวัสดุต่างๆ  จากตนไม้ เช่น กาบหมาก เปลือกไผ่ไปแปรรูปผลิตเป็นภาชนะที่มีความเก๋ไก๋น่าใช้มาก แถมยังเป็นการช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติได้อย่างดี เพราะคนทั่วไปที่ไม่เห็นคุณค่าของใบไม้ก็จะเผาใบไม้ทิ้งไป หรือดีขึ้นมาก็อาจจะนำไปหมักทำปุ๋ยอินทรีย์ แต่สำหรับกลุ่มของเราเรานำมาแปรรูปเป็นจาน ชาม ภาชนะต่างๆจนทำให้สินค้าชนิดนี้เป็นที่ขึ้นชื่อของหมู่บ้านสำนำ โดยเฉพาะกาบหมาก และเปลือกไผ่ที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นชาม เป็นจานที่ดูแล้วมีดีไซน์สวยงาม ผสมความเป็นธรรมชาติได้อย่างครบถ้วน ทั้งนี้ทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุทัยธานี ได้รับความร่วมมือจากบริษัทโรงน้ำตาลในอำเภอบ้านไร่ สนับสนุนเครื่องจักรสำหรับใช้แปรรูปใบไม้ กาบหมาก และเปลือกไผ่เป็นภาชนะ โดยเป็นการนำเอาเทคโนโลยีมาผสมผสานกับภูมิปัญญาดั่งเดิมของชาวบ้าน แล้วผลิตเป็นสินค้าที่เหมาะสำหรับคนรักธรรมชาติ สำหรับหัวเรี่ยวหัวแรงในการทำงานนี้ก็คือชาวบ้านในพื้นที่บ้านสำนำ อย่างเช่นคุณครรชิต ซึ่งเราก็ร่วมมือร่วมใจร่วมกันทำงานมาโดยตลอด ส่วนคำถามที่ว่าภาชนะใบไม้สามารถใช้งานได้กี่ครั้งกว่าจะหมดอายุการใช้งาน ก็ตอบว่าใช้ได้หลายสิบครั้ง แต่ต้องใช้กับอาหารหรือของแห้งเท่านั้น เพราะหากมีน้ำมากๆ จะทำให้เกิดความชื้น และอาจจะทำให้เกิดเชื้อราได้ ดังนั้นจึงเหมาะกับการใช้สำหรับของแห้ง เช่น ขนมที่ไม่มีน้ำ หรือถั่ว งา พริกป่น หรืออาจจะเป็นของทอดที่มีน้ำมันไม่ชุ่มจนเกินไป เมื่อใช้แล้วสามารถทำความสะอาดแล้วนำกลับมาใช้ได้อีก ต้องขออนุญาตประชาสัมพันธ์สินค้านะคะ หากท่านใดสนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่บ้านสะนำหรือติดต่อได้ที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุทัยธานี หากห้างร้านใดจะสั่งให้ติดตราโลโก้ของบริษัท เราก็สามารถผลิตให้ได้ด้วย 

คุณครูพรพรรณ ทองย้อย ผู้สอนวิชาขนมไทยโบราณ ซึ่งเป็นขนมไทยโบราณที่หารับประทานได้ไม่ง่ายในชีวิตประจำวัน เช่น จ่ามงกุฎ ทองเอกเสน่ห์จันทร์ และอีกสารพัดขนมไทยโบราณแสนอร่อย เล่าให้ฟังว่าขนมไทยโบราณคือมรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติไทย และชนชาติต่างๆ ที่เข้ามามีส่วนสัมพันธ์กับชนชาติไทย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ต้องอนุรักษ์ไว้ เพื่อเป็นมรดกและความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน ขนมไทยมีความพิถีพิถัน ความประณีตในการทำ เพราะมีขั้นตอนมาก ดังนั้นจึงต้องอาศัยความอดทนในการทำ และอยากให้คนไทยช่วยกันเรียนรู้การทำขนมไทยที่ถูกขนบธรรมเนียมให้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น การกวาดเนื้อในของเมล็ดแตงโมในกระทะทองเหลืองเพื่อจะนำเมล็ดแตงฉาบน้ำตาลบางๆ ไปใช้ประดับขนมจ่ามงกุฎ ต้องผ่านขั้นตอนมากมาย เช่น เลือกเมล็ดแตงโมงที่ขนาดเท่าๆ กันแล้วนำเปลือกออก จากนั้นต้องคัดเนื้อในให้เสมอกัน แล้วนำเนื้อเมล็ดแตงโมไปกวาดบนน้ำเชื่อมที่เคี่ยวไฟจนแห้งหมาดๆ การกวาดก็ต้องใช้มือค่อยๆกวาด ต้องทำด้วยความพิถีพิถันมากแล้วทำไปจนกว่าเกล็ดน้ำตาลเกาะบนผิวเนื้อเมล็ดแตง จนมีความวาวของเนื้อ ซึ่งดูเสมือนเพชร แล้วจึงนำไปวางบนขนมจ่ามงกุฎ นี่คือความมีเสน่ห์ของการทำขนมไทยโบราณ กว่าครูจะทำขนมไทยได้ชำนาญ ครูก็ได้รับการอบรมสั่งสอนจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่ท่านมีเมตตาสั่งสอน ผู้เฒ่าผู้แก่มักจะหวงวิชานี้ เพราะเป็นความรู้เฉพาะตัว กว่าครูจะได้วิชาก็ต้องเพียรพยายามมาก ต้องไปกราบเรียนท่านเหล่านั้นว่า ขอความรู้เพื่อนำไปเผยแพร่ในโครงการฝึกอาชีพของศูนย์วงเดือน ในพระราชูปถัมภ์ของกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อท่านผู้เฒ่าผู้แก่ทราบว่านำความรู้ไปเพื่อถวายงานเจ้านาย ท่านก็ยอมสอนให้ แล้วครูก็ต้องไปค้นหาความรู้เพิ่มเติมจากตำราขนมไทยต่างๆ แล้วก็ฝึกฝนเป็นประจำด้วย เพื่อให้มีฝีมือการทำขนมให้อยู่ตัว และเพื่อพัฒนาไปเรื่อยๆ 

คุณศิริลักษณ์ วีระยุทธวัฒนะ ผู้เรียนขนมไทยโบราณ เล่าว่า ตั้งใจเรียนทำขนมไทยโบราณ เพราะต้องการสืบสานสิ่งดีงามของไทยเอาไว้ แล้วพบว่ายิ่งได้เรียนรู้กรรมวิธีการทำขนมไทยก็ยิ่งภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ท่านสั่งสมไว้ ขนมไทยโบราณหลายชนิด เช่น จ่ามงกุฎ เสน่ห์จันทร์ ทองเอก ไม่สามารถหารับประทานได้จากตลาดทั่วไป เพราะทำยากและคนรุ่นหลังๆ ก็ไม่ค่อยรู้จัก เมื่อตัดสินใจมารับการอบรมการทำขนมไทยนั้น แรกๆก็เห็นว่ามันทำได้ยากมาก แต่ก็ตั้งใจฝึกมาตลอด ยิ่งฝึกก็ยิ่งรัก และเห็นความมีเสน่ห์ของขนมไทยโบราณ ใช้เวลาเรียนหลักสูตรละ40 ชั่วโมง เรียนนาน 8 วัน เรียนแล้วก็กลับไปฝึกทำที่บ้านอยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะชำนาญและสามารถผลิตขายได้ ขอบอกว่าสินค้าตัวนี้เป็นที่ต้องการมาก หากคุณต้องการหารายได้เสริมหรือต้องการทำเป็นอาชีพหลัก ก็ขอแนะนำให้มาฝึกทำขนมไทยโบราณด้วยกันค่ะ

ครูวาณีรัตน์ วงศ์วิกิจ ผู้ปรุงหมี่กรอบโบราณที่แสนอร่อย ความอร่อยของหมี่กรอบอยู่ที่ ตัวหมี่ต้องกรอบ แต่นุ่มละมุน ต้องไม่เหนี่ยวจนแข็งกระด้าง น้ำปรุงต้องมีรสชาติกลมกล่อม หวานหอมกำลังดี การทำหมี่กรอบอาจจะต้องใช้เวลาพอประมาณ คือต้องเตรียมเส้นหมี่ขาวที่นำไปคลุกกับไข่แดง ต้องให้ไข่แดงเกาะเส้นหมี่ให้ทั่ว จนเส้นหมี่ออกสีเหลืองของไทย แล้วนำไปตากแดดจนแห้งสนิท ตากอย่างน้อยก็หนึ่งวัน แล้วต้องพลิกเส้นที่ตากแดดให้ถูกแดดให้ทั่วกัน เมื่อเตรียมเส้นหมี่ผสมไข่ตากแห้งเรียบร้อย ก็ต้องเลือกเต้าหู้แข็ง แล้วนำเต้าหู้แข็งไปหันเป็นลูกเต๋าขนาดเล็ก แล้วนำไปตากแดด การตากเต้าหู้หั่นเป็นลูกเต๋าต้องตากให้แห้งสนิทจริงๆบางทีต้องตากแดดถึงสองวัน เมื่อได้สองอย่างนี้แล้ว ก็นำไปเก็บไว้ก่อน แล้วขั้นตอนต่อไปคือการทำน้ำราดหมี่กรอบ ซึ่งประกอบด้วย น้ำน้ำตาลทราย น้ำปลาอย่างดี น้ำมะนาว หรือน้ำส้มสายชูแท้ก็ได้ หากไม่มีมะนาวสด แต่ขอให้ใช้มะนาวสดจะดีกว่า แล้วนำไปเคี่ยวจนเป็นยางข้น เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ จากนั้นก็ถึงขั้นตอนการทำหมี่กรอบ หากจะถามว่าทำยากไหมก็ตอบว่า ไม่ยากมาก แต่ต้องใส่ใจเรียนรู้วิธีทำแล้วต้องหมั่นฝึกทำบ่อยๆ จนรสมืออยู่ตัวอาหารไทยเป็นอาหารที่มีเสน่ห์ เป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรมของบ้านเรา เราต้องช่วยกันรักษาและช่วยกันส่งเสริมให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เพราะมันคือการรักษารากเหง้าทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของคนไทย คนรุ่นหลังอาจจะไม่เข้าใจว่ามันมีความสำคัญ เพราะไม่มีใครบอกเล่าให้เขาฟัง เราก็ต้องช่วยกันบอกพวกเขา เพราะเมื่อเขาเห็นความสำคัญ เขาจะรักษารากเหง้าของเขาเอาไว้ แล้วเขาจะภูมิใจในความเป็นมาของอาหารไทย

คุณจะได้พบกับรายการดีที่ครบครันด้วยสาระและความบันเทิง รายการแนวหน้าวาไรตี้ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์เวลา 16.00-16.25 น. ทางโทรทัศน์TNN 2 ช่อง 784 ดิจิทัลทีวี หรือ True Visions 8 และชมรายการ ย้อนหลังได้ที่ YouTube แนวหน้าวาไรตี้

Let's block ads! (Why?)




August 15, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/2CqUDXQ

มีอาชีพ มีความภูมิใจ และมีชีวิตที่ดี ที่ศูนย์วงเดือน อาคมสุรทัณฑ์ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://ift.tt/3eWVcWY


Bagikan Berita Ini

0 Response to "มีอาชีพ มีความภูมิใจ และมีชีวิตที่ดี ที่ศูนย์วงเดือน อาคมสุรทัณฑ์ - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.