Search

LIFE & HEALTH : สร้างดุลยภาพชีวิต...ช่วยพิชิตความแก่ชรา - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

semaugayahidup.blogspot.com

วันพุธ ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563, 06.00 น.

การแก่ชรานั้นอาจจะเป็นการแก่ชราตามวัยและการแก่ชราก่อนวัยที่เกิดจากการใช้ชีวิตที่ฝืนธรรมชาติ ฝืนนาฬิกาชีวิตที่มีมาตั้งแต่เกิด รวมทั้งการใช้งานร่างกายมากและพักผ่อนน้อย นอกจากนี้ ปัจจัยของสารพิษในบรรยากาศที่แวดล้อมอยู่ไม่ว่าจะเป็นสารเคมี คลื่นพลังงานต่างๆ และรังสียูวีจากนอกโลก ก็ล้วนมีผลต่อการแก่ชราของเราทั้งสิ้น

ข้อมูลจาก ผศ.นพ.พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์ กรรมการบริหาร มูลนิธิคุณแม่คุณภาพ เปิดเผยว่า ดุลยภาพของชีวิต เป็นความสมดุลย์ของชีวิตที่เกิดจากการหลอมรวมของไลฟ์สไตล์ที่ประสานกันเป็นหนึ่งเดียวแบบไร้รอยต่อของการงาน ครอบครัว สังคมและสุขภาพ ความแก่ชราของคนเรานั้นเกิดจากหลายปัจจัย อันได้แก่ ปัจจัยภายในจากกรรมพันธุ์ ปัจจัยภายนอกอันได้แก่ สิ่งแวดล้อมและการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของร่างกายของคนเรา

มีงานวิจัยทางการแพทย์หลากหลายที่มีมาเป็นเวลานานแล้วซึ่งได้ผลสรุปตรงกันว่า ไลฟ์สไตล์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการป้องกันการแก่ชรา การมีไลฟ์สไตล์ที่ดีมีผลดีหลากหลายต่อทั้งสุขภาพในระดับยีนหรือกรรมพันธุ์ ช่วยลดปริมาณน้ำตาลและไขมันในเลือดรวมทั้งช่วยเผาผลาญ ช่วยลดความเครียด ส่งเสริมการผ่อนคลาย ทำให้มีอารมณ์ดี คิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

การหลอมรวมไลฟ์สไตล์ที่ดีเหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อหรือที่เรียกว่าบูรณาการไลฟ์สไตล์ จึงน่าจะเป็นแนวทางที่ควรยึดถือปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งเพื่อที่จะมีอายุที่ยืนยาว มีสุขภาพดี และมีพลังชีวิตที่เต็มเปี่ยม การเริ่มต้นที่ดีเท่ากับสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง โดยเริ่มที่ตัวเราเอง ด้วยการปรับไลฟ์สไตล์ที่ดีดังนี้

1.กินตามนาฬิกาชีวิต นาฬิกาชีวิตที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดนั้นบ่งบอกว่าตื่นขึ้นมาในตอนเช้าพบกับแสงแดด ต้องเริ่มด้วยการรับประทาน อาหารเช้าเพราะมีข้อมูลทางการวิจัยบ่งบอกว่าฮอร์โมนอินซูลินจะสร้างตามแสงสว่างและมืด เมื่อมีแสงสว่างจะมีการสร้างและเมื่อมืดก็จะหยุดสร้าง ซึ่งหมายความว่า คนที่กินอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากใน อาหารค่ำที่กินหลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้วจะไม่มีฮอร์โมนอินซูลินเพียงพอที่จะนำเอาน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงาน จึงพบว่าคนที่ไม่กินอาหารเช้าและกินอาหารค่ำหนักนั้นจะเป็นโรคอ้วนง่ายเนื่องจากน้ำตาลไม่ได้รับการเผาผลาญทำให้มีระดับสูงในกระแสเลือดรวมทั้งเปลี่ยนเป็นไขมัน ขณะเดียวกันก็ไม่มีการเผาผลาญไขมันในขณะนอนหลับด้วยเพราะร่างกายได้พลังงานจากอาหารค่ำมื้อหนักเพียงพอแล้ว และผลร้ายที่ตามมาก็คือจะเกิดโรคอ้วนลงพุง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจและสมองตีบตันฯลฯ มีงานวิจัยยืนยันว่าการกินอาหารเช้ามื้อแรกเวลา 07.00 น. และหยุดการรับประทานอาหารหลัง 17.00 น. นั้นจะได้ผลดีที่สุดในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคอ้วน และโรคอื่นๆ ที่ทำให้แก่ก่อนวัย ถ้ายังทำไม่ได้ด้วยสาเหตุประการใดก็ตามก็ควรจะต้องพยายาม ปรับเปลี่ยนตามหลักการนี้

2.ประสานการออกกำลังกายเข้ากับการงาน ถ้าสามารถประสานการออกกำลังกายกับการทำงานในที่ทำงาน หรือที่บ้านจะลดเวลาที่ใช้ในการเดินทางและมีเวลาที่จะใช้ในการออกกำลังกายที่บ้านได้มากขึ้น หลักการง่ายๆ ก็คือ อย่านั่งโต๊ะทำงานนานเกิน 60 นาที ควรหยุดเพื่อออกกายบริหารกล้ามเนื้อต้นคอและลำตัวเพื่อป้องกันการปวดคอ ปวดหลังจนเกิด office syndrome ที่เป็นกันมากในยุคนี้ การออกไปเดินสัก 10 นาทีทุก 2-3 ชั่วโมงนั้นก็ให้ผลที่ดีเช่นกันโดยเฉพาะถ้าหลังจากมื้ออาหารทุกมื้อ จะช่วยลดระดับของน้ำตาลในเลือดลงได้ ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน การออกกำลังกายแบบพอประมาณไม่หนักมาก ก่อนและหลังเวลาทำงานก็ให้ผลดีในการป้องกันโรค office syndrome แถมยังช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและปรับรูปร่างให้ดูดีด้วย สำหรับการทำสวนในบ้านนอกจากจะเป็นการใช้กล้ามเนื้อแล้ว การออกมาอยู่ในที่โล่งแจ้งได้รับแสงแดดก็จะทำให้ร่างกายสามารถผลิตวิตามินดีได้มากขึ้นช่วยในด้านการเพิ่มภูมิคุ้มกันและเสริมสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ รวมทั้งฮอร์โมนเพศอีกด้วย

3.นอนหลับพักผ่อนและทำงานตามนาฬิกาชีวิต หลักการที่สำคัญ คือ เริ่มทำงานในตอนเช้าเมื่อมีแสงอาทิตย์ และเลิกงานตอนเย็นเมื่อแสงสว่างในเวลากลางวันหมดไป เพราะเมื่อมีแสงอาทิตย์ต่อมไพเนียลในสมองจะเริ่มสร้างฮอร์โมนชื่อเซโรโทนินที่จะทำให้กระฉับกระเฉงและมีพลังที่จะทำงาน เมื่อแสงอาทิตย์หายไปต่อมไพเนียลจะเปลี่ยนเป็นผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินออกมาแทนเพื่อที่จะได้เข้าสู่โหมดของการพักผ่อนและระบบต่างๆ ของร่างกายจะเริ่มทำการซ่อมแซมตนเอง

4.เรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีทางด้านส่งเสริมสุขภาพให้เป็นประโยชน์ การใช้เทคโนโลยีในด้านการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนแนวคิดจากการรอเจ็บป่วยแล้วค่อยไปรักษาเป็น การดูแลรักษาสุขภาพตามลักษณะของแต่ละบุคคลเพื่อการมีสุขภาพดีและอายุยืนยาว ตัวอย่าง เช่น การตรวจหายีนที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล หรือ Preventive Lifestyle Genetic Tests เริ่มมีบทบาทด้านสุขภาพในปรับเปลี่ยนวิถีทางการดำรงชีวิตแต่ละบุคลว่า ควรกินแบบใด เมื่อไร อย่างไร อาหารแบบไหน เสริมสารอาหารที่จำเป็นอะไรในปริมาณเท่าใด ควรออกกำลังกายแบบไหน เมื่อไร และถี่ห่างอย่างไร ควรพักผ่อนแบบใด เป็นต้น สำหรับการตรวจหายีนปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆ ที่ป้องกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงและอัมพฤกษ์ อัมพาต ปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม ความจำเสื่อม อวัยวะในระบบต่างๆเสื่อม ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งบางชนิดที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตให้เป็นไปในแนวทางป้องกันซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่ได้ 100% แต่การป้องกันและการตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรกก็ทำให้การรักษาได้ผลดีขึ้น

5. ปรับสมดุลย์ของร่างกาย จิตใจ และปัญญาเข้าด้วยกันการเรียนรู้ที่จะใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา เรียนรู้การมีจิตใจที่ดีงาม การฝึกฝนจิตใจให้เป็นผู้รู้แจ้งและคิดด้วยปัญญา ใช้ปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้ในด้านต่างๆ มาใช้เพื่อให้เกิดเป็นพลังในการดำเนินชีวิต การทำงาน การเข้าสังคม เรียนรู้ที่จะเป็นคนดี เรียนรู้ที่จะนำความดีของตนเองออกมาเมื่อเกิดความสมดุลย์ทางปัญญาและร่างกายจิตใจแล้วก็จะเกิดสุขภาวะ มีเทคนิคเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้มากหลายซึ่งสามารถที่จะเรียนรู้และนำเอาความรู้ทางโลกและทางธรรมมาหลอมรวม เพื่อให้เกิดสภาพที่เป็นสุขหรือที่รู้จักกันในชื่อ Wellness

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นก็คือ การดำรงคงอยู่อย่างสมดุลย์กับธรรมชาติด้วยความสุข : Living Well The Wellness Ways

ผศ. (พิเศษ) ดร.อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์

ประธานกรรมการ มูลนิธิคุณแม่คุณภาพ

Let's block ads! (Why?)




September 30, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/33bhxgy

LIFE & HEALTH : สร้างดุลยภาพชีวิต...ช่วยพิชิตความแก่ชรา - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://ift.tt/3eWVcWY


Bagikan Berita Ini

0 Response to "LIFE & HEALTH : สร้างดุลยภาพชีวิต...ช่วยพิชิตความแก่ชรา - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.